สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารคืออะไร? พร้อมมาดูตัวอย่างสถาบันการเงินวันนี้

ทำความเข้าใจ สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร คืออะไร ทำหน้าที่อะไรบ้าง 2024

ถ้าพูดถึงการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะโอน จ่าย ฝาก ถอน สมัครบัตรเครดิตหรือการกู้เงินขอสินเชื่อต่างๆ หลายคนน่าจะคิดถึงธนาคารชั้นนำต่างๆเป็นอย่างแรก ซึ่งนอกจากธนาคารชั้นนำต่างๆ ยังมีสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารอีกมากมายที่ให้บริการทางด้านการเงินได้ไม่ต่างกับธนาคาร ซึ่งหน้าที่ของสถาบันการเงินแต่ละแบบ คืออะไร มีที่ไหนบ้าง และทำงานอย่างไร ไปทำความรู้จักกัน

สถาบันการเงินในประเทศไทย มีอะไรบ้าง 2567

สถาบันการเงินคืออะไร เมื่อพูดถึงบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงิน มันคือ สถาบันที่เป็นตัวกลางในการระหว่างผู้กู้เงินและผู้ปล่อยกู้ โดยอาจมีบทบาทในการระดมเงินออมจากลูกค้ากลุ่มนึง มาปล่อยแก่ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยสถาบันการเงินมีกี่ประเภทอะไรบ้าง เราสามารถแบ่งประเภทของสถาบันการเงินได้หลักๆ ได้ 2 ประเภท คือ ธนาคาร และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร โดยตัวอย่างของธนาคารก็มีหลากหลายรูปแบบ ตามแต่จุดประสงค์ในการดำเนินงาน ได้แก่

  • ธนาคารกลาง ทำบทบาทดูและและควบคุมการทำงานของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ซึ่งคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยนั่นเอง
  • ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารภาคเอกชน ที่ทำงานโดยระดมเงินฝากจากประชาชน เช่น ธนาคารกรุงไทย กรุงศรี กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ เป็นต้น 
  • สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. เป็นต้น

สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร คืออะไร 2567

Non-Bank Institutions หรือ สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารคือ สถาบันเกี่ยวกับการเงินที่ไม่ได้อยู่ในระบบธนาคาร โดยจะไม่ได้มีการรับฝากเงินเหมือนธนาคารพาณิชย์ แต่จะประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินในด้านอื่นๆ โดยสามารถดูายชื่อสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น เงินด่วนทันเด้อ โดยถ้าเปรียบเทียบกับธนาคารแล้ว สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารแต่ละแห่งจะมีจุดมุ่งหมายและหน้าที่ในการทำงานที่เจาะจงกว่าธนาคารที่เป็นที่รวบรวมการทำธุรกรรมหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน ซึ่งส่งผลดีต่อลูกค้าที่ต้องการทำธุรกรรมที่จะได้มีตัวเลือกในการใช้บริการที่มากขึ้นนั่นเอง 

สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร มีอะไรบ้าง 2567

โดยเราสามารถแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารได้ 7 รูปแบบ ได้แก่

  1. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด ทำหน้าที่ระดมเงินออมของประชาชน โดยการออกตั๋วสัญญาหรือตราสารเครดิต เพื่อนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ โดยจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร
  2. กองทุนรวม เป็นสถาบันการเงินที่ระดมเงินออมโดยการขายหน่วยลงทุนให้กับผู้ที่สนใจ แล้วทางกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ตามที่ระบุ เช่น หุ้น กองทุนอื่นๆ เป็นต้น แล้วได้ผลตอบแทนออกมาเป็นเงินปันผลให้กับผู้ลงทุนนั่นเอง
  3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารที่เป็นการนำเงินฝากสของประชาชนไปลงทุนในเรื่องของที่ดินและที่อยู่อาศัย
  4. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ซื้อหุ้น ขายหุ้น
  5. บริษัทประกันภัย จำหน่ายประกันทุกรูปแบบ
  6. สหกรณ์ออมทรัพย์ ทำงานโดยการระดมเเงินจากสมาชิกมาปล่อยกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย จากนั้นจึงนำกำไรที่ได้มาแบ่งให้สมาชิกตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ อาทิ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร เครดิตยูเนี่ยน เป็นต้น
  7. โรงรับจำนำ รับจำนำสิ่งของจากประชาชน เพื่อแลกเป็นเงินสด หรือพวกแอพผ่อนโทรศัพท์ไม่ใช้บัตร

เราจะเห็นได้ว่า สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารแต่ละแห่งมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการและข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป จะเลือกใช้บริการจากที่ไหนมันก็ต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ทางการเงินของตัวคุณเองและความเสี่ยงที่คุณรับได้นั่นเอง